นพ. รัฐเขตต์ เอกอิสริยาภรณ์

การฉีดวัคซีน คือ การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายเพื่อป้องกันการติดต่อของโรคติดต่อร้ายแรง วัคซีนอาจผลิตจากเชื้อไวรัส หรือ เชื้อแบคทีเรียที่อ่อนตัวแล้ว หรือส่วนประกอบของเชื้อ แล้วนำมาฉีดเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคนั้นๆ

เหตุใดจึงต้องฉีดวัคซีน

จุดประสงค์ในการฉีดวัคซีนนั้นเพื่อป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงโดยเฉพาะกับเด็ก การฉีดวัคซีนนั้นช่วยลดการแพร่ระบาดและลดผลกระทบที่ร้ายแรงของโรคต่อผู้ป่วย

การฉีดวัคซีนมีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนคือส่งผลในการป้องกันโรคของตัวเด็กเอง และประโยชน์ทางอ้อมคือเมื่อเด็กได้รับวัคซีนป้องกันโรคนั้นๆแล้ว โรคนั้นจะไม่ติดต่อไปยังเด็กคนอื่น ดังนั้นการฉีดวัคซีนจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคติดเชื้อในเด็ก

วัคซีนชนิดต่างๆ

1. วัคซีนบีซีจี (BCG) ป้องกันวัณโรค

  • ฉีด 0.1 มล. ในชั้นผิวหนังที่ไหล่ซ้าย
  • ถ้าไม่มีแผลเป็นเกิดขึ้น และไม่มีหลักฐานว่าเคยได้รับมาก่อน ให้ฉีดได้ทันที
  • ถ้าเคยได้รับวัคซีนมาก่อน ไม่ต้องฉีดซ้ำแม้ไม่มีแผลเป็น

2. วัคซีนตับอักเสบบี

  • เด็กทุกคนต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็มถ้าไม่มีข้อห้าม และเข็มสุดท้ายต้องอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน
  • ทารกที่คลอดจากมารดาที่ HBsAg ให้ผลลบ ให้ฉีดวัคซีนจำนวน 3 ครั้งเมื่อแรกเกิด อายุ 1-2 เดือน และอายุ 6 เดือนตามลำดับ
  • ทารกที่คลอดจากมารดาที่ HBsAg ให้ผลบวก(โดยเฉพาะถ้า HBeAg เป็นบวกด้วย) พิจารณาให้ภูมิต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBIG) ภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด และให้วัคซีนครั้งที่ 1 พร้อมกันคนละตำแหน่งกับที่ฉีด HBIG
  • กรณีทารกได้รับ HBIG ให้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เมื่ออายุ 1-2 เดือน และครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน
  • กรณีทารกไม่ได้รับ HBIG ให้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เมื่ออายุ 1 เดือน และครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน
  • ตามแผนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุขให้วัคซีนรวมที่มีทั้ง คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และไวรัสตับอักเสบบี (DPT-HB) ที่อายุ 2, 4 และ 6 เดือน แต่ถ้ามารดามี HBsAg ให้ผลบวกและทารกไม่ได้ HBIG ควรให้วัคซีนตับอักเสบบีเดี่ยวเพิ่มตอนอายุ 1 เดือนด้วย(รวมเป็น 5 ครั้ง)

3. วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน

  • เด็กทุกคนต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็มถ้าไม่มีข้อห้าม และเข็มสุดท้ายต้องอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน
  • ทารกที่คลอดจากมารดาที่ HBsAg ให้ผลลบ ให้ฉีดวัคซีนจำนวน 3 ครั้งเมื่อแรกเกิด อายุ 1-2 เดือน และอายุ 6 เดือนตามลำดับ
  • ทารกที่คลอดจากมารดาที่ HBsAg ให้ผลบวก(โดยเฉพาะถ้า HBeAg เป็นบวกด้วย) พิจารณาให้ภูมิต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBIG) ภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด และให้วัคซีนครั้งที่ 1 พร้อมกันคนละตำแหน่งกับที่ฉีด HBIG
  • กรณีทารกได้รับ HBIG ให้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เมื่ออายุ 1-2 เดือน และครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน
  • กรณีทารกไม่ได้รับ HBIG ให้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เมื่ออายุ 1 เดือน และครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน
  • ตามแผนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุขให้วัคซีนรวมที่มีทั้ง คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และไวรัสตับอักเสบบี (DPT-HB) ที่อายุ 2, 4 และ 6 เดือน แต่ถ้ามารดามี HBsAg ให้ผลบวกและทารกไม่ได้ HBIG ควรให้วัคซีนตับอักเสบบีเดี่ยวเพิ่มตอนอายุ 1 เดือนด้วย(รวมเป็น 5 ครั้ง)

4. วัคซีนโปลิโอ

  • ให้หยด bivalent OPV (type1, 3) 5 ครั้ง ร่วมกับฉีด IPV 1 ครั้งที่อายุ 4 เดือน
  • สามารถใช้ชนิดฉีด (ปัจจุบันรวมอยู่กับวัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก) แทนชนิดกินได้ทุกครั้ง หากใช้ชนิดฉีดอย่างเดียวโดยตลอดอาจให้เพียง 4 ครั้ง โดยงดเมื่ออายุ 18 เดือนได้

5. วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม

  • ให้วัคซีนครั้งแรกเมื่ออายุ 9-12 เดือน ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 2-4 ปี (กระทรวงสาธารณสุขให้ที่อายุ 2 ปีครึ่ง)
  • กรณีที่ต้องการฉีดวัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมัน คางทูมและอีสุกอีใสในเวลาเดียวกัน สามารถใช้วัคซีนรวม หัด หัดเยอรมัน คางทูมและอีสุกอีใส (MMRV) แทนการฉีดแบบแยกเข็มได้ทุกครั้งในเด็กอายุตั้งแต่ 1-12 ปี การใช้วัคซีนรวม MMRV ที่อายุ 2-4 ปีแทนการฉีดวัคซีนแบบแยกเข็มพบว่ามีอาการข้างเคียงไม่แตกต่างกัน
  • การใช้วัคซีนรวม MMRV ในเด็กอายุ 12-23 เดือนมีโอกาศเกิดการชักจากไข้ได้มากกว่าการฉีดแบบแยกเข็ม กรณีที่เคยได้วัคซีน MMR หรือ VZV มาก่อน แนะนำให้ใช้วัคซีนรวม MMRV ห่างจากวัคซีน MMR และ VZV ครั้งก่อน อย่างน้อย 3 เดือน

6. วัคซีนฮิบ (Hib)

  • ปัจจุบันมีชนิด conjugate กับ PRP-T ในเด็กไทยแนะนำให้ฉีด 3 ครั้งเมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน
  • การฉีดเข็มกระตุ้นที่อายุ 12-18 เดือน อาจไม่จำเป็นต้องฉีดในเด็กแข็งแรง ควรฉีดในผู้ที่มีความเสี่ยง เช่นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่มีม้าม หรือม้ามทำงานผิดปกติ
  • ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนฮิบในเด็กภูมิคุ้มกันปกติที่อายุ 2 ปีขึ้นไป

7. วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี

  • วัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิต (inactivated : JEVAC ) ฉีด 3 ครั้ง เริ่มเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป เข็มต่อมาอีก 1-4 สัปดาห์ และ 1 ปี ปีตามลำดับ
  • วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต (live JE : CD-JEVAX และ IMOJEV) ให้ฉีด 2 ครั้งที่อายุ 9-12 เดือน เข็มต่อมาอีก 12-24 เดือน live JE ทั้งสองชนิดสามารถใช้แทนกันได้
  • สามารถใช้วัคซีนชนิด live JE ฉีดกระตุ้นในผู้ที่เคยฉีดวัคซีน inactivated JE ได้ และสามารถใช้วัคซีน inactivated JE ฉีดกระตุ้นในผู้ที่เคยฉีด live JE ได้ โดยห่างกันอย่างน้อย 12 เดือน

8. วัคซีนตับอักเสบเอ

  • วัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิต (inactivated vaccine ) ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป โดยฉีด 2 เข็มห่างกัน 6-12 เดือน อาจใช้ต่างชนิดได้ในการฉีดแต่ละครั้ง
  • วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต (live vaccine ) ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 18 เดือนขึ้นไป เพียงเข็มเดียว และใช้แทนวัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิตได้

9. วัคซีนอีสุกอีใส

  • ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป แนะนำให้ฉีดเข็มแรกอายุ 12-18 เดือน
  • พิจารณาให้ฉีดเข็มที่สองเมื่ออายุ 2-4 ปี อาจจะฉีดเข็มที่สองก่อนอายุ 4 ปีได้ในกรณีที่มีการระบาดแต่ต้องห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
  • ถ้าอายุมากกว่า 13 ปี ให้ฉีดสองเข็มห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน

10. วัคซีนไข้หวัดใหญ่

  • พิจารณาให้ฉีดในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปโดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี และเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรง เช่น เด็กที่จะเป็นโรคเรื้อรัง(รวมหอบหืด) โรคหัวใจ โรคอ้วนที่ BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 35 ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคเรื้อรัง เป็นต้น
  • ถ้าอายุน้อยกว่า 9 ปี การฉีดครั้งแรกต้องฉีดสองเข็มห่างกัน 1 เดือน กรณีที่ปีแรกได้ไปฉีดเพียงครั้งเดียว ปีถัดมาให้ฉีดสองครั้ง จากนั้นจึงสามารถฉีดปีละครั้งได้

11. วัคซีนนิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต

  • ควรให้ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้ชนิดรุกราน (invasive disease) หรือรุนแรง (severe) และในเด็กแข็งแรงปกติที่อายุน้อยกว่า 5 ปี
  • ปัจจุบันมีวัคซีนชนิด 10 สายพันธุ์( PCV10) และชนิด 13 สายพันธุ์( PCV13 ) ให้สามครั้งเมื่ออายุ 2,4,6 เดือน และให้ฉีดกระตุ้นเมื่ออายุ 12-15 เดือน โดยห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 2 เดือน หากเริ่มฉีดช้าให้ฉีดตามตาราง
  • ในเด็กปกติ อาจพิจารณาให้ฉีดแบบ 2+1 (รวมเป็นการฉีด 3 ครั้ง) คือฉีดเมื่ออายุ 2, 4 และ 12-15 เดือน
อายุที่เริ่มฉีด
การฉีดกระตุ้น
จำนวนครั้งที่ฉีด
2-6 เดือน PCV 3 ครั้งห่างกัน 6-8 สัปดาห์
PCV 1 ครั้งอายุ 12-15 เดือน
7-11 เดือน PCV 2 ครั้งห่างกัน 6-8 สัปดาห์
PCV 1 ครั้งอายุ 12-15 เดือน
12-23 เดือน PCV 2 ครั้งห่างกัน 6-8 สัปดาห์
ไม่ต้องฉีด
เด็กปกติ 2-5 ปี PCV10 ให้ 2 ครั้ง PCV13 ให้ 1 ครั้ง
ไม่ต้องฉีด
PCV=Pneumococcal conjugated vaccine

 

12. วัคซีนโรต้า

  • ชนิด monovalent (Rotarix) ให้กิน 2 ครั้งเมื่ออายุประมาณ 2 และ 4 เดือน
  • ชนิด human-bovine pentavalent (RotaTeq) ให้กิน 3 ครั้งเมื่ออายุ 2,4 และ 6 เดือน
  • วัคซีนทั้งสองชนิด สามารถเริ่มให้ครั้งแรก เมื่ออายุ 6-15 สัปดาห์ และครั้งสุดท้ายอายุไม่เกิน 8 เดือน โดยแต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์
  • ควรใช้วัคซีนชนิดเดียวกันจนครบ หากจำเป็นต้องใช้วัคซีนต่างชนิดกันในแต่ละครั้ง ต้องให้วัคซีนทั้งหมด 3 ครั้ง
  • สามารถให้วัคซีนโรต้าร่วมกับวัคซีนโปลิโอชนิดกินได้
  • ห้ามใช้วัคซีนนี้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง severe combined immune deficiency และในเด็กที่มีประวัติลำไส้กลืนกัน

13. วัคซีนเอชพีวี (HPV)

  • มี 2 ชนิดคือ ชนิด 2 สายพันธุ์ (16, 18) และชนิด 4 สายพันธุ์(6,11,16,18) หากต้องการให้ป้องกันหูดหงอนไก่ด้วยต้องใช้วัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์
  • แนะนำให้ฉีดในหญิงและชายอายุ 9-26 ปี เน้นให้ฉีดในช่วงอายุ 11-12 ปี โดยฉีด 3 เข็มในเดือนที่ 0,1-2 และ 6
  • ในวัยรุ่นที่แข็งแรงดี หากฉีดเข็มแรกก่อนอายุ 15 ปี ให้ฉีด 2 เข็มได้ ที่ 0, 6-12 เดือน
  • ประสิทธิภาพจะสูงหากฉีดในผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์หรือไม่เคยติดเชื้อมาก่อน แม้ว่าเคยมีการติดเชื้อหรือเคยเป็นโรคจากการติดเชื้อเอชพีวีก็ยังควรได้รับวัคซีนเอชพีวีเพราะสามารถป้องกันการติดเชื้อใหม่และการเกิดโรคซ้ำได้
  • การฉีดในผู้ที่อายุมากกว่า 26 ปีอาจพิจารณาให้เป็นกรณีๆไป

14. วัคซีนไข้เลือดออก

  • ฉีดได้ในผู้ที่มีอายุ 9-45 ปี ฉีด 3 เข็ม เดือนที่ 0,6 และ 12 แนะนำในเด็กที่มีประวัติเป็นไข้เลือดออกมาก่อน สำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นไข้เลือดออกควรตรวจเลือดก่อนการฉีดวัคซีน

นพ.รัฐเขตต์ เอกอิสริยาภรณ์
กุมารแพทย์
โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงราย